วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประสบการณ์จากการสอบเป็น HAM America ภาค2

วันที่11ธันวาคม วันลงสนามสอบเป็นนักวิทยุสมัครเล่นของอเมริกา ผมตื่นแต่เช้าพร้อมกับความมั่นใจ ตรวจสอบสิ่งที่ต้องใช้ให้ครบถ้วน
เริ่มจากเงินจำนวน15$ ผมเตรียมไปเท่านี้เพราะไม่คิดจะสอบซ่อมหากสอบไม่ผ่าน ,สำเนาบัตรประชาชน ที่มีชื่อนามสกุลภาษาอังกฤษ เพราะผมไม่มีพาสสปอต
ปากกา,ดินสอแบบ2B มารู้ตอนสอบว่าใช้แบบHBธรรมดาก็ได้,ยางลบ เท่านี้ครับ เครื่องคิดเลขผมไม่มี ถ้ามีควรเอาไปด้วยนะครับ
ผมเดินทางจากบ้าน7โมงเช้าไปถึง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 8โมงกว่าๆ แบบไม่ได้รีบร้อน เพราะตรงกับวันหยุดต่อเนื่อง การจราจรคล่องตัว แต่ผมต้องพึ่งแทกซี่ เพราะไปไม่ถูก
ไปถึงก็ได้พบกับผู้เข้าสอบหลายๆท่าน ผมไม่รู้จักใครสักคน เคยเห็นรูปบางท่าน ก็พอเดาได้บ้างว่าใครเป็นใคร
เวลา9โมงตรง กรรมการเรียกเข้าห้องสอบ มีVEจำนวน6ท่านครับ เป็นคนไทย1ท่าน แนะนำการกรอกเอกสาร แบบฟอร์ม605มีข้อสงสัยให้ถามครับ กรรมการย้ำเรื่องชื่อและที่อยู่ให้ถูกต้อง การกรอกชื่อเป็นแบบฝรั่ง คือเอานามสกุลขึ้นก่อน
ในห้องสอบเขาสอบพร้อมกันทุกท่านครับไม่ว่าจะสอบใหม่ หรือสอบเลื่อนขั้น มีทั้งไทย ฝรั่ง ญี่ปุ่น ที่ฮามากคือฝรั่งชาวอเมริกันท่านนึง ถึงจะเป็นอเมริกันแต่ไม่มีcallsignอเมริกา
ท่านใช้callsignของลาวในการลงทะเบียนสอบ พูดไทยชัดครับ มีมุกตลกเรียกเสียงฮาจากคนทั้งห้อง
มาถึงการสอบ กรรมการแจกกระดาษคำตอบ พร้อมแนะนำการกรอกข้อมูล ตามด้วยใบคำถาม เขาจะแบ่งเป็นสีครับ สีส้ม สีชมพู สีเหลืองตามลำดับขั้น
ถึงจะสีเดียวกันแต่คำถามจะเป็นคนละชุดไม่ซ้ำกัน ผมอ่านและกาคำตอบทุกข้ออย่างมั่นใจ
ข้อสอบเอามาจากข้อสอบกลางที่ได้เผยแพร่ไว้ครับ แต่ข้อสอบจะไม่เรียงกลุ่ม1 2 3...ถึง0 จะสลับไปมา และตัวเลือกก็abcdสลับตำแหน่งเช่นกัน เพิ่มความยากขึ้นเล็กน้อย สำหรับคนที่เตรียมตัวมาดีไม่ใช่ปัญหาครับ
หลังทำเสร็จ ผมตรวจทานให้แน่ใจอีกรอบ ทุกคำตอบมีค่า ไม่อยากเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เรื่องเวลาไม่ต้องกังวลครับ ไม่มีกำหนดไว้ มีคนทำเสร็จในเวลาอันรวดเร็วหลายท่าน
ผู้ที่ทำเสร็จแล้วไปนั่งรอในห้องที่ผู้จัดเตรียมไว้ให้ บางท่านก็รอกันหน้าห้องสอบ
ผมและผู้เข้าสอบ รอการตรวจข้อสอบของกรรมการอยู่พักใหญ่ๆ กรรมการประกาศผลทีละคน ผู้สอบผ่านกรรมการจะถามว่าจะสอบต่อหรือไม่ ถ้าต้องการสอบต่อ ก็เชิญเข้าห้องสอบ
 แน่นอน ต้องมีชื่อผมอยู่ด้วย ผมเข้าสอบGeneralบางท่านที่ไม่ผ่านก็ใช้สิทธิ์สอบซ่อมต้องจ่ายอีก15$ตามระเบียบ ผมใช้ความรอบคอบเหมือนเดิม มีบางข้อไม่มั่นใจเหมือนกันมีโอกาสได้ใช้ยางลบอยู่ข้อนึงครับ 
เช่นเดิมครับรอกรรมการตรวจ และประกาศผล ทั้งผ่าน ทั้งซ่อม และหยุด ปนกันไปครับ
 ผมผ่านGeneralตามที่ตั้งใจ แต่สละสิทธิ์ในการเข้าสอบExtra เพราะว่าผมไม่ได้เตรียมตัวมาเลยเนื้อหายากมากๆ ถ้าผมเข้าสอบ ผลลัพล์พอคาดได้เลยว่าตกแน่นอน แม้เพื่อนๆที่รอผลอยู่ด้วยกันก็ขอให้ลองสอบ ผมปฎิเสธเพราะไม่พร้อม
 แต่มีผู้เข้าสอบExrtraหลายท่านครับ แล้วก็ผ่านซะด้วย
ท้ายสุดกรรมการแจกcertificate CSCEให้กับผู้สอบผ่านทุกท่าน  แล้วก็ให้รอcallsign ที่ทางFCCจะส่งให้ตามที่อยู่ในอเมริกาที่เราระบุไว้
สรุปผลการสอบ US Exam (11 Dec 2010) สอบผ่าน EXTRA = 6 (upgrade 2), Gen = 5, Tech = 7 และไม่ผ่าน 6 (upgrade 3) ครับ
  หลายคนคงอยากรู้ว่าสอบแล้วได้อะไร ถ้าอยู่ในประเทศไทยและเป็นคนไทย จะไม่มีผลอะไร เอาไปเทียบอะไรไม่ได้แม้กฏจะเปิดช่องไว้แต่ผู้คุ้มกฏท่านไม่เคยให้สิทธิ
คนที่เดินทางไปต่างประเทศ ดูจะได้ประโยชน์กว่า ถ้าไปอเมริกาก็ออกอากาศได้เลยตามขั้นของใบอนุญาต ถ้าเป็นประเทศอื่นใช้การเทียบได้ครับ ส่วนมากเขายอมรับใบอนุญาตของอเมริกา
จะได้เท่าไรก็ตามระเบียบของแต่ละประเทศ สำหรับผม อยู่แต่ในประเทศไทย สิ่งที่ได้มีเพียงประสบการณ์จริงที่ได้เรียนรู้วิธีการสอบที่แตกต่างกันออกไป วิธีการดูง่าย รวดเร็ว
และการสอบเป็นกลุ่มเล็กๆ ทำให้มีการพูดคุยกัน เข้าใจความเป็นวิทยุสมัครเล่นมากขึ้น ในเมืองไทยน่าจะเอาวิธีการนี้ไปใช้นะครับ สมาคมที่ต้องการมีรายได้เลี้ยงองกรค์จะมีเงินข้ามาเรื่อยๆไม่ต้องรอปีละครั้ง
ความสัมพันธ์ระหว่างสมาคมกับตัวนักวิทยุสมัครเล่นจะมีมากขึ้น ไม่ใช่สอบผ่านก็โบกมือลาไม่รู้จักกัน แต่สิ่งที่สำคัญมากๆ คือต้องซื่อสัตย์ ไม่มีการยัดเงินหรือเรียกเก็บเงินใต้โต๊ะเพื่อให้สอบผ่าน
เราจะได้นักวิทยุสมัครเล่น มากกว่านักใช้วิทยุในความถี่สมัครเล่น แบบในปัจจุบัน
 ผู้ที่อยากลองสอบดูบ้าง ผู้จัดประเมินไว้ว่าน่าจะอีก3เดือนข้างหน้าจะจัดสอบได้อีกครั้งนึง ผมจะอ่านหนังสือเพิ่ม เพื่อหาความรู้จากข้อสอบExtra แต่จะลงสอบหรือไม่ ไว้ตัดสินใจภายหลัง
เทคนิคสำหรับเตรียมสอบที่ผมใช้คือ จำคำถามและจำเฉพาะคำตอบที่ถูกต้อง ดูให้คุ้นตาครับ จำทีละหมวด ทีละน้อย อย่าไปหักโหม ผมใช้โปแกรมชื่อ Ham Acadamy มาทดสอบทำข้อสอบ
และทดสอบทำข้อสอบonline มีในหลายๆเวปครับ ที่ถูกใจคือ http://www.hamradiolicenseexam.com/index.html จะคล้ายกับข้อสอบจริง และมีสรุปให้เราด้วยครับ วางแผนบริหารช่วงเวลาให้ดีครับ ไม่งั้นจะได้หน้าแต่ลืมหลัง
ตอนแรกก็อยากจะลองExtraแต่อ่านคร่าวๆแล้วยากมาก เวลาคงไม่พอ ผมตัดไปเลยจะได้ไม่กังวล เอาเท่าที่พอทำได้ครับ อย่าลืม ความตั้งใจกับเวลา มีสองสิ่งนี้ รับรองผ่านครับ

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประสบการณ์จากการสอบเป็น HAM America ภาค1

ผมได้ทราบข่าวการเปิดสอบเพื่อเป็นนักวิทยุสมัครเล่นของอเมริกา จากทวิทเตอในเวปบอร์ด100watts.com ซึ่งได้linkไปที่เวปของRASTที่ http://www.qsl.net/rast/
มีข้อมูลเล็กๆ ให้ไปดูข้อสอบที่จะใช้สอบและวันเวลาสถานที่สอบ ต่อจากนั้นไม่กี่วันในบอร์ด100watts เอารายละเอียดมาลงเพิ่มเติม คราวนี้ลองเอาข้อสอบมาอ่านดู ซึ่งคร่าวๆก็อยู่ในวิสัยที่จะทำข้อสอบได้
เงื่อนไขในการสมัครเราก็มีพร้อมยกเว้นเรื่องที่อยู่ในอเมริกา ซึ่งเราไม่มีแต่ไม่เป็นไร ไว้แก้ปัญหาเอาทีหลังมีเวลาตั้งสามเดือน ใช้เวลาอยู่1สัปดาห์ในการตัดสินใจว่าจะสอบแน่ๆ
เริ่มจากการหาความรู้เสริมจากเนื้อหาในข้อสอบ เพราะหลายๆข้อเราไม่รู้มาก่อน บางข้อก็ลืมไปแล้ว ผมทำความเข้าใจแนวข้อสอบที่ทำจากpowerpoint  ช่วยได้มากครับ
แนวทางการจำที่ฝรั่งทำสรุปเอาไว้ก็พอช่วยได้ เป้าหมายของผมอยู่ที่สอบผ่านGenernal เท่านั้น ส่วนขั้นExtraนั้นยากไปครับ ยังไม่ถึงเวลา ไว้คราวหน้าครับ
รูปแบบวิธีการสอบของอเมริกาต่างจากในบ้านเราครับ ของเขาสอบอย่างเดียวไม่มีนั่งหลับแล้วกาตามโพยแบบบ้านเรา
ในอเมริกาแบ่งนักวิทยุสมัครเล่นออกเป็น3ขั้น คือ Technician General และExtra ลดลงจาก5ขั้นในสมัยก่อน และไม่ต้องสอบรหัสมอสแล้วครับ
ข้อสอบที่ใช้เป็นข้อสอบกลางมีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ จะปรับปรุงใหญ่ทุกๆ4ปี ข้อสอบของแต่ละชั้นเขาจะแบ่งออกเป็น10หมวดตามความรู้แขนงต่างๆ ในแต่ละหมวดจะมีกลุ่มย่อย และในแต่ละกลุ่มจะมีหลายๆข้อ
เขาจะสุ่มมากลุ่มละข้อโดยใช้เกณดังนี้
Technician ข้อสอบ35ข้อ ต้องผ่าน29ข้อ
General ข้อสอบ35ข้อ ต้องผ่าน29ข้อ
Extra ข้อสอบ50ข้อ ต้องผ่าน37ข้อ
ค่าสมัครเขาเรียกเก็บ15เหรียญสหรัฐครับ ต้องจ่ายเป็นDollar เงินไทยไม่รับครับ อายุ เพศ วัย เชื้อชาติ สัญชาติ การศึกษา ไม่กำหนดครับ ขอให้ทำข้อสอบที่เป็นภาษาอังกฤษได้ก็พอ
เงินค่าสมัครจ่าย15$ สอบได้ทั้ง3ขั้นเลยครับ สำหรับคนที่ไม่เคยสอบมาก่อน บ้านเราบางจังหวัดที่จัดสอบก็เก็บเกินกำหนดที่ระบุไว้ ใครไม่จ่าย ไม่ขายใบสมัครให้
เมื่อเราทำข้อสอบ เราส่งใบคำตอบ จะได้รับการตรวจในทันที และประกาศผลเดี๋ยวนั้นเลยว่าสอบผ่านหรือเปล่าถ้าผ่านก็ทำข้อสอบขั้นต่อไปถ้าไม่ผ่านก็ขอสอบซ่อมได้แต่ต้องจ่ายอีก15$ตามกฏ
หลังสอบจนพอใจ เราจะได้ใบCertificates ยืนยันผลการสอบ จากนั้นต้องรออีกประมาณสองสัปดาห์FCC จะส่งใบอนุญาตและcallsign ทางจดหมายไปตามที่อยู่ที่เราให้ไว้แต่ต้องในอเมริกานะครับ เขาไม่ส่งมาเมืองไทย
ในบ้านเรากว่าจะรู้วันสอบ วันขายใบสมัคร กว่จะไปสอบ ประกาศผลสอบ รอใบประกาศนียบัตร ใช้เวลาเป็นปี ดีนะที่ยกเลิกระเบียบการสอบประวัติไปแล้ว หรือถ้าจะสอบเลื่อนขั้นเป็นขั้นกลางต้องรออีกสามชาติ
หน่วยงานที่ดูแลวิทยุสมัครเล่นในอเมริกา คือFCC เมื่อก่อนก็จัดสอบเองแต่ปัจจุบันจะมอบหมายให้องกรค์ที่เรียกว่าVEC เป็นคนจัดสอบ VEC จะมีสมาชิกเป็นนักวิทยุสมัครเล่นที่มีใบอนุญาตระดับGeneralขึ้นไปมาทำหน้าที่VE
หรืออาสาสมัครคุมสอบ ซึ่งใช้VEเพียง3คนแต่VEที่คุมสอบต้องมีระดับที่สูงกว่าขั้นที่จะสอบ เช่นจัดสอบTechnicianต้องใช้Generalขึ้นไป ถ้าสอบGeneralต้องใช้ AdvanceหรือExtra
กำหนดวันสอบนี่ก็ง่ายครับ รวมตัวกันให้ได้จำนวนนึงก็ขอสอบได้แล้ว ไม่ต้องรอปีละครั้งแบบบ้านเรา แต่จะประกาศล่วงหน้าทางเวปครับ เราไปหาดูได้ว่าเมืองใกล้บ้านเราเขาจะสอบเมื่อใด
 ผมใช้เวลา3เดือนก่อนวันสอบทำความเข้าใจข้อสอบไปเรื่อยๆครับ ไม่กังวลอะไร ยกเว้นเรื่องที่อยู่ในอเมริกา จนได้ E20EHQ ให้ใช้ที่อยู่ของเพื่อนในอเมริกา ผมขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ ผมถึงได้ส่งเอกสารไปลงทะเบียน ตามกฏของผู้จัดในประเทศไทย
ในตอนนี้ไม่มีอะไรต้องห่วงแล้ว ไว้วันสอบเจอกันครับ คราวนี้ของจริง

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นักวิทยุสมัครเล่นกับภัยพิบัติ

ในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน 2553 ประเทศไทยเจอพายุฝนหนักๆอยู่2ระลอก ชุดแรกฝนตกหนักบริเวณเขาใหญ่
จนเกิดน้ำป่าใหลทะลักเข้าท่วมจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน น้ำจากจังหวัดนครราชสีมายังได้กระจายไปท่วมจังหวัดใกล้เคียงและส่วนใหญ่ของภาคกลาง
นักวิทยุสมัครเล่นในจังหวัดนครราชสีมาใด้ใช้รีพีทเตอร์ที่ติดตั้งบนยอดเขายายเที่ยง ประสานงานเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีการถ่ายทอดเสียงจากรีพีทเตอร์เข้าระบบEcholinkให้ในส่วนกลางได้รับรู้ความเคลื่นใหว
ระลอกที่สองเว้นว่างไม่กี่วัน ลมมรสุมในอ่าวไทยได้แปรสภาพเป็นดีเปรสชั่น เข้าโจมตีจังหวัดสงขลาพัทลุงและใกล้เคียง น้ำได้ท่วมกระจายเป็นวงกว้าง
เมืองหาดใหญ่จมเป็นทะเลอีกครั้งหลังจากโดนท่วมหนักเมือปี2543 จุดที่ไม่เคยท่วม ในครั้งนี้ ด้รับผลกระทบอย่างหนักและทั่วถึง
บทบาทการเป็นพระเอกในเงามืดของนักวิทยุสมัครเล่นได้เริ่มอีกครั้ง เพราะระดับน้ำสูงทำให้ไฟฟ้าดับ การสื่อสารด้วยโทรศัพท์มือถือขัดข้อง
  การสื่อสารด้วยวิทยุสื่อสารจึงมีประสิทธิภาพที่สุด นักวิทยุสมัครเล่นออกทำหน้าที่ทันทีโดยไม่ต้องมีใครมาสั่ง ประสานงานกันเองหาเรือซึ่งได้มาไม่กี่ลำ หารถมาช่วยแจกอาหาร
นำส่งคนเจ็บ คนป่วย หญิงใกล้คลอด รายงานสภาพน้ำ ความเสียหาย ในขณะที่หน่วยราชการไม่ขยับตัว มัวแต่ประชุม วางแผน รอคำสั่ง จนหมดเวลาไปหนึ่งวัน
ค่ายทหารที่อยู่ในพื้นที่มีแต่คนไม่มีอุปกรณ์ ไม่กล้าตัดสินใจ
วันรุ่งขึ้นความเสียเริ่มชัดเจนมีคนจำนวนมากขาดอาหารและน้ำ นักวิทยุสมัครล่นได้กระจายตัวช่วยเหลืออย่างเต็มที่ตามกำลังที่มีอยู่
อุปกรณ์ช่วยเหลือเข้ามามากขึ้น แต่ของไปกระจุกตัวอยู่ในบางจุดเช่นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ซึ่งเป็นจุดหลัก ดูเหมือนดีแต่กลับตรงกันข้าม
ไม่มีการกระจายของสู่มือผู้ประสบภัย ใครจะไปขอรับต้องอ้างต้นสังกัดหน่วยงานใหญ่โตถึงจะรับออกมาได้ และมีนำเสนอข้อมูลให้ความหวังในเรื่องอุปกรณ์ น้ำและอาหารอยู่หลายครั้งจนใช้ต้องคำว่า"โดนหลอก"
ทางกลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นจึงได้ตัดสินใจว่าจะต้องทำด้วยตัวเองไม่สามารถรอใครได้แล้ว บริหารจัดการกันด้วยความร่วมมือร่วมใจกันอย่างเต็มที่  ได้รับความร่มมือจากกลุ่มต่างๆที่ไม่สังกัดหน่วยราชการ และไม่ได้ทำงานเอาหน้า
ซึ่งได้แสดงประสิทธิภาพออกมาให้บุคคลทั่วไปได้รับรู้ จากการถ่ายทอดเสียงการสื่อสารผ่านระบบเอคโค่ลิ้ง และถ่ายทอดเป็นเวปสตีมมิ่งให้ผู้ไม่ได้เป็นนักวิทยุสมัครเล่นได้รับฟัง
หน่วยงานหลายหน่วยได้เข้ามาขอข้อมูล ที่นักวิทยุสมัครเล่นได้รวบรวมไว้ เพราะเป็นข้อมูลที่เป็นจริง เชื่อถือได้ และเป็นปัจจุบัน เอาใปรายงานผู้บังคับบัญชา
วันถัดมาการช่วยเหลือเข้ามาอย่างหนาแน่น แต่ยังคงไปกระจุกตัวในตัวเมือง กลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นทำสวนทาง กระจายตัวช่วยเหลือผู้เดือดร้อนในรอบนอกที่การช่วยเหลือยังเข้าไม่ถึง ในขณะที่พวกอยากได้หน้าได้ตาจะวุ่นวายกับสื่อจนถูกเรียกว่าเป็นการ"ถ่ายทำมิวสิควีดีโอ"
นักวิทยุสมัครเล่นผู้ปิดทองหลังพระยังคงตั้งหน้าตั้งตาช่วยเหลือในจุดตกค้างต่อไป
  ในยามสงบกลุ่มของเราได้รับการมองข้าม ไม่มีการสนับสนุนอย่างจริงใจจากผู้ควบคุมดูแลจากภาครัฐ ถูกมองว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคงมาตลอด
ซึ่งมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับโทรศัพท์มือถือ หรืออินเตอร์เน็ทที่มีข่าวลงตามสื่อเป็นประจำ แทบทุกวัน แต่เมื่อใดมีเหตุ พวกเราได้ใช้ความสามารถของเราอย่างเต็มที่ไม่หวังสิ่งใดตอบแทน
  จากเหตุวิกติที่เกิดขึ้นทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง เช่น
ผู้ทำหน้าที่ เป็นnet operatorซึ่งสำคัญมาก ต้องมีความใจเย็น จัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง เปิดโอกาศให้ทุกคนอย่างเท่ากัน รู้ว่าจะพูดรับพูดโต้ตอบคนที่แย่งกันขอความช่วยเหลือและให้ข้อมูลอย่างไร
จดจำสิ่งต่างๆได้อย่างดี รู้จักภูมิประเทศ ถนน หมู่บ้าน สถานที่สำคัญ จุดสังเกตุหลักๆ
คนให้ข่าวสารต้องให้ข้อมูลด้วยภาษาที่ชัดเจนไม่รีบร้อน  งดการใช้ระหัสคำย่อทุกชนิดเพราะไม่ได้ช่วยประหยัดเวลาอะไร
ให้รายละเอียดจุดเกิดเหตุมากพอสำหรับผู้ที่จะช่วยเหลือเข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลาหาหรือสับสนกับชื่อหมู่บ้านหรือชื่อถนน ซอยที่อาจคล้ายกัน
ไม่รับปากในสิ่งที่ทำไม่ได้หรือไม่รู้ว่าจะทำได้เมื่อใด
ไม่กระจายข่าวที่ไม่เป็นจริง คลุมเคลือ หากได้ข่าวมาไม่ว่าดีหรือร้าย ต้องมีการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และผู้ที่เชื่อถือได้มาช่วยกลั่นกรองตรวจสอบ
ประสานงานกับเครือข่ายต่างๆทั้งให้ข้อมูลและขอข้อมูลได้ 
มีอุปกรณ์สือสารที่มีความพร้อมโดยเฉพาะเรื่องพลังงานสำรองสำหรับสถานีประจำที่และเครื่องมือถือภาคสนาม
ต้องรู้จักวิธีใช้อุปกรณ์สื่อสาร รู้วิธีตั้งช่องรีพีทเตอร์เพราะเหตุที่ผ่านมามีคนจำนวนมากตั้งรีพีทเตอร์ไม่เป็น หรือไม่รู้ว่าความถี่ใดเป็นรีพีทเตอร์
มีการจัดเตรียมอุปกรณ์จะต้องใช้ในยามฉุกเฉิน สามารถหยิบจับมาใช้ได้ทันทีที่จำเป็น
 ผู้เขียนblogซึ่งก็เป็นนักวิทยุสมัครเล่นกับเขาคนนึง ไม่มีโอกาศได้เข้าไปช่วยเหลือ สิ่งที่ทำได้คือให้กำลังใจ และขอขอบคุณเพื่อนนักวิทยุมัครเล่นผู้เสียสละทุกท่าน ด้วยความจริงใจ

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Folded Dipole Decibel

ครั้งก่อนนำเสนอแบบสายอากาศ โฟลเดดไดโฟล ของAndrew คราวนี้มาดูของอีกยี่ห้อนึงเป็นแบบของยี่ห้อ Decibel
ระยะต่างๆคล้ายกับของAndrew ทำไมจะไม่คล้ายล่ะครับ ก็Andrewได้ซื้อกิจการของDecibel แล้วเอามาติดยี่ห้อตัวเอง เสริมสายการผลิตของตัวเองให้เข้มแข็งขึ้น
แบบที่นำมาแสดงได้มาจาก  http://www.repeater-builder.com มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบบรีพีทเตอร์แบบหลากหลาย
สายอากาศมีให้เลือกสองย่านความถี่นะครับ
แบบแรก 138-150MHz ครอบคลุมย่านวิทยุสมัครเล่น


แบบสอง150-160MHz สำหรับหน่วยงานราชการ


ทั้งสองรุ่นต่างกันตรงความยาวห่วงเล็กน้อย สายนำสัญญาณVB11มีค่า 75โอม ใช้สายRG11ค่า75โอมแทนได้
สายนำสัญญาณVB83มีค่า 35โอม เทียบเท่าRG83 ถ้าหาซื้อไม่ได้ สายทั้งหมดใช้สาย RG11ได้
ในแบบมีบางจุดมีการเชื่อมอลูมิเนียมให้ติดกัน เพื่อความแข็งแรง และสามารถลดการรับส่งคลื่นไม่พึงประสงค์จำพวก intermodurationได้

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Folded Dipole Andrew

สายอากาศชนิดโฟลเดดไดโพลเป็นที่นิยมในบ้านเรา ทั้งราชการ เอกชน และวิทยุสมัครเล่น มีมากมายหลายยี่ห้อทั้งในและต่างประเทศ
โครงสร้างแข็งแรงอัตราขยายดีปรับรูปแบบการจระจายคลื่นได้ และแบนด์วิธกว้าง การสร้างแต่ละแบบจะมีวิธีที่คล้ายๆกัน วิธีคิดคำนวณก็คล้ายกัน
ผมขอข้ามวิธีคิดคำนวณนะครับ เอาแบบสำเร็จไปทดลองกันเลย เป็นแบบของบริษัทAndrewผู้ผลิตสายนำสัญญาณชื่อดัง


ข้อแตกต่างคือการจัดวางระยะห่างของแต่ละห่วง จัดวางไม่เท่ากันแตกต่างจากที่เรารับรู้กันเท่าไปที่จะห่าง1/2แลมด้า
จุดต่างอีกที่นึงคือสายเฟสชิ่งลาย ใช้แบบ35โอม ซึ่งหาได้ยากในบ้านเรา ข้อนี้เราใช้แบบ75โอมทดแทนได้ครับ ความยาวตามแบบที่นิยมในบ้านเราได้เลย

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คาปาซิเตอร์ ซิลเวอไมก้า silver mica

เมื่อหลายปีก่อนประมาณช่วงปี36ผมได้รู้จักนักวิทยุสมัครเล่นที่มีความสามารถมากท่านนึง ท่านได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงอะไรหลายๆอย่างที่น่าสนใจ
ยกตัวอย่างเช่น การทำเม้ากระดกจากมอเตอร์ที่ปัดน้ำฝน ในช่วงนั้น เท่าที่มีข้อมูลยังไม่มีใครทำขึ้นมา ผมเคยเห็นอยู่บ้างที่เอาชุดกระจกไฟฟ้าทั้งชุด
มาทำเม้ากระดก แต่มันมีขนาดใหญ่โตไม่สวยงาม
อีกงานนึงที่น่าสนใจคือการดัดแปลงสายอากาศติดรถยนตร์ยอดนิยมของ Diamond รุ่น DP-CL2E หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่าสายอากาศซีโหลด (c-load)
วิธีการการดัดแปลงของท่าน ในสมัยนี้มีคนนิยมทำและเป็นที่รู้กันว่า คือการเปลี่ยน C ในชุดแมทชิ่งคอล์ย แต่มันมีข้อแตกต่างกันคือวัตถุที่ท่านนำมาใช้
ท่านได้ใช้ C ค่า8pF 500Vจากของเดิมชนิดเซรามิค ไปใช้ คาปาซิเตอร์ ชนิด ซิลเวอไมก้า (silver mica)  ข้อดีของ C ชนิดนี้คือถูกสร้างขึ้นมาใช้กับงานด้านRFทนแรงดันได้สูง
มีค่าผิดพลาดต่ำ เราเอามาใส่ใน c-load สามารถใช้กับกำลังส่ง50วัตต์ได้สบายผู้ที่เคยใช้ทุกคนยอมรับว่าประสิทธิภาพรับส่งดีขึ้นกว่าเดิมแบบรู้สึกได้
แต่ข้อเสียคือหาซื้อยาก และราคาแพง ในตอนนั้นท่านผู้ดัดแปลงต้องสั่งจากต่างประเทศ คนที่รู้จัก C ชนิดนี้เลยมีน้อย ปัจจุบันผู้คนทั่วไปที่ดัดแปลงสายอากาศเองยังคงใช้ C แบบเซรามิคโดยเอามาพ่วงกันหลายๆตัว

สำหรับในตอนนี้ silver mica ยังคงราคาแพงอยู่ แต่พอหาได้เป็นบางค่า มีกลุ่มผู้ที่ทำเครื่องเสียงเล่นเองนิยมเอาไปใช้งาน เขาบอกว่าเสียงที่ได้ออกมาดีกว่า C ทั่วไป
ผู้ที่อยากทดลองสามารถหาซื้อได้ง่ายขึ้นจาก ebay ใช้เวลาไม่นานครับ  รับรอง C ชนิดนี้ไม่ทำให้คุณผิดหวัง

V2 ชื่อนี้มีที่มา

สาอากาศรอบตัวที่มีกราวเพลนเป็นก้าน2ชั้น คนทั่วไปจะเรียกว่าสายอากาศV2 ปัจจุบันมีผู้ผลิตในไทยรายนึงผลิตออกมาขาย เป็นแบบV2 4ชั้นแถมยังกันฟ้าผ่าอีกด้วย
ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า ที่มามีมากกว่านี้
ย้อนไปเมื่อหลายปีก่อนบริษัทผลิตสายอากาศจากอเมริกายี่ห้อAEA ได้ผลิตสายอากาศชนิดรอบตัวให้ชื่อรุ่นว่า ISOPOLE เป็นที่นิยมทั้งในอเมริกาและในประเทศไทย
จนมีผู้ทำเลียนแบบออกมาขาย สายอากาศชนิดนี้มีจุดเด่นตรงรูปร่าง ที่มีกราวพลนเป็นรูปกรวย จำนวน2ชุด หรือ2ชั้น กรวยชั้นบนทำหน้าที่กราวเพลน
กรวยชั้นล่างทำหน้าที่คลัปปิ้งลดการแพร่กระจายคลื่นจากสายนำสัญญาณ ไม่ให้ไปกวนสายอากาศ

สายอากาศที่ทำตามกันออกมาโดยอาศัยแนวคิดเดียวกัน เป็นของยี่ห้อTelex-hygain (ปัจจุบันใช้ชื่อhy-gain) ได้ออกสายอากาศอออกมารุ่นนึงคล้ายกับisopole
แต่ในส่วนของกราวเพลนเป็นแบบก้านอลูมิเนียม4ก้าน ไม่ได้ทำเป็นกรวยอลูมิเนียม
hy-gainตั้งชื่อรุ่นของสายอากาศชนิดนี้ว่ารุ่น V2R
หมายถึงสายอากาศแบบverticalที่ใช้งานบนความถี่ย่าน2meter ในบ้านเราจะเรียกกันย่อๆว่า วีทู
ต่อมานักวิทยุสมัครเล่นชาวไทยมีความรู้มากขึ้น และสายอากาศที่นิยมใช้เปลี่ยนไป หันไปนิยมสายอาศชนิด5/8แลมด้า สองชั้นบ้าง สามชั้นบ้าง
บางท่านได้ทำสายอากาศแบบ5/8แลมด้า แต่ได้ใส่กราวเพลนเข้าไปสองชุดแบบสายอากาศ V2 และยังเรียกสายอากาศที่ทำขึ้นว่า V2
เมื่อเวลาผ่านไป ที่มาตรงส่วนนี้ไม่ได้รับการบอกเล่าต่อ นักวิทยุรุ่นหลังๆเลยเข้าใจว่าถ้ามีกราวเพลนชั้นเดียวเรียก สายอากาศ5/8แลมด้า
แต่ถ้าไปพบไปเห็นสายอากาศต้นใหนมีกราวเพลนสองชั้นจะถูกเรียกว่า วีทู จนลืมสายอากาศ V2R ของhy-gain ไปเสียสนิท

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โครงสร้างภายในของสายอากาศ Diamond X510N


หลังจากพยายามหารายละเอียดของสายอากาศตระกูลX500 X510และX520ของDimond
ก็ได้ไปเจอรายละเอียดสัดส่วนที่เวป
http://www.xs4all.nl/~pa0fri/Ant/X510N/Diamond%20X510N%20modification.htm
ลองตรวจดูแล้วมันแปลกๆเพราะเมื่อตรวจกับภาพถ่ายภายในจาก
http://www.hellocq.net/forum/showthread.php?t=116361
และอีกหลายแห่งที่พอหาได้ทำให้สับสนเล็กน้อย พอได้ไล่ตรวจสอบดู ต้องโยงลูกศรตามภาพจึงจะเหมือนจริง
ที่จริงสัดส่วนของสายอากาศ X510Nตามภาพเคยมีผู้เอาไปลงไว้ในบอร์ด www.100watts.com นานแล้ว
แต่การจัดเรียงท่อนกลางไม่ถูกต้อง และภาพที่ลงก็ไม่ชัดเพราะเป็นแบบสเกตด้วยมือ ผู้ทำตาม ทำแล้วไม่สำเร็จ
วัสดุที่ใช้มีทั้งทองเหลืองใช้ทำwhip ทองแดงใช้ทำcoil ผสมกันไป
สำหรับรุ่นใช้งานหนักทนวัตต์สูง X510HDN หรือX510HDM พบจุดที่แตกต่างคือ Cตรงชุดแมทชิ่ง
จะเพิ่มมาอีก2ตัวเพื่อให้Voltสูงขึ้น ทนกำลังส่งสูงขึ้นระยะอื่นๆไม่มีข้อมูล

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

กทช. ระงับการออกใบอนญาต

อันเนื่องมาจากคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดในกรณีข้อพิพาทกับCATและTOTในกรณี3G ที่ตีความออกมาว่า กทช. ไม่มีอำนาจออกใบอนุญาตเพราะต้องมีแผนร่วมกับ กสทช. แต่ กสทช.ยังไม่เกิด
ทำให้บ่ายวันที่29กันยายน กทช. ได้มีคำสั่งระงับการออกใบอนุญาตทุกประเภทรวมถึงในส่วนของวิทยุสมัครเล่นด้วย โดยให้เหตุผลว่าไม่แน่ใจในอำนาจตัวเอง การระงับใบอนุญาตยังไม่มีกำหนดระยะเวลาว่าเมื่อใดจะกลับมาออกใบอนุญาตได้อีก เจ้าหน้าที่จะรับเงินและออกใบเสร็จให้
HS1ASC เขียนไว้ใยบอร์ด100wattsว่า
เป็นผลมาจากคำสั่งศาลที่ให้ทุเลาการออกใบอนุญาต ซึ่งทาง กสท. และ ทศท. ยื่นฟ้อง กทช. ในกรณี 3 จี

กทช. อ้างว่า เนื่องจากไม่มีความชัดเจนในอำนาจหน้าที่ ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง เนื่องมาจากการที่ศาลระบุว่า
อำนาจในการให้ใบอนุญาตของ กทช. จะได้มาหลังจากที่มี กสทช. ร่วมกันกำหนดแผนความถี่ใหม่แล้ว
ดังนัน ปัจจุบันจึงไม่มีอำนาจในการอนุญาตให้ใช้ความถี่

การอนุญาต ไม่ว่าจะ มี ใช้ ทำ นำเข้า นำออก หรือทำหน้าที่เป็นพนักงานวิทยุ จึงทำไม่ได้ด้วย เพราะเป็นการอนุญาตให้ใช้ความถี่
การต่ออายุใบอนุญาต ก็ทำไม่ได้ เพราะในทางกฎหมายมันคือการขอใบอนุญาตใหม่ และขอใหม่โดยใช้คุณสมบัติเดิมของผู้ขอ

(การที่ใบอนุญาตเก่าหมดอายุ ก็คือ สิ้นสุดการอนุญาตในครั้งนั้น)

เดิม กทช. เคยให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความแล้ว ว่ามีอำนาจอนุญาตในส่วนวทิยุคมนาคมหรือไม่
ซึ่งได้รับคำตอบว่าทำได้ จึงทำมาตลอด ตอนนี้ ศาลบอกว่าทำไม่ได้ ก็ต้องหยุด ก็เลยจะต้องเกิด
" ผลกระทบเป็นวงกว้างต่อการบริการสาธารณะ" (ที่ศาลบอกว่า ประชาชนก็มี 2 จีใช้อยู่แล้ว การที่ กทช. ไม่มีอำนาจในการออกใบอนุญาตในครั้งนี้ก็ไม่เป็นไร)

จะว่า กทช. ตีรวนโดยอ้างกฎหมาย ก็พูดไม่ได้ เพราะการที่ไม่มีอำนาจออกใบอนุญาต ก็แปลว่าออกใบอนุญาตอะไรก็ไม่ได้จริงๆ แถมยังอาจจะสามารถกระทบไปถึงใบอนุญาตที่ออกมาแล้วทั้งหมด ตั้งแต่ที่ กทช. ไม่มีอำนาจในการออกใบอนุญาตด้วย ตกใจ ตกใจ 

คำสั่งของ กทช.ถึงสำนักงาน กทช. เป็นไปตาม
http://www.100watts.com/smf/index.php?topic=69999.0 และ
http://www.khontone.com/index.php/topic,666.0.html ค่ะ ตามนั้นเลย คือ ยกเลิกการมอบอำนาจในการออกใบอนุญาต สกทช. รับเรื่องได้ ทำเรื่องได้ พิมพ์ใบอนุญาตได้ แต่เซ็นไม่ได้ ให้ว่างลายเซ็นไว้และส่งมายัง กทช. ส่วนกลาง ที่ กทม.
เพราะยังไม่รู้ว่าใครจะมีอำนาจเซ็น ใบอนุญาตอันไหนใช้หมด ก็หมดเลย ห้ามสั่งทำใหม่ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ข่าวว่าบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นใหม่อันสวยงามนี้กำลังจะหมดแล้วด้วย

ต้องคอยติดตามว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป ลุ้นกันมันหยดว่า กทช. จะได้อำนาจคืนมาจากกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ หรือจากทางใด
หรือ สกทช. จะเกิดขึ้นได้โดยเร็วหรือไม่ จะมีการฟ้องล้มแล้วล้มอีกเหมือนการตั้ง สทช. จนไม่เคยเกิดขึ้นได้เลยหรือไม่

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553