วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Folded Dipole Decibel

ครั้งก่อนนำเสนอแบบสายอากาศ โฟลเดดไดโฟล ของAndrew คราวนี้มาดูของอีกยี่ห้อนึงเป็นแบบของยี่ห้อ Decibel
ระยะต่างๆคล้ายกับของAndrew ทำไมจะไม่คล้ายล่ะครับ ก็Andrewได้ซื้อกิจการของDecibel แล้วเอามาติดยี่ห้อตัวเอง เสริมสายการผลิตของตัวเองให้เข้มแข็งขึ้น
แบบที่นำมาแสดงได้มาจาก  http://www.repeater-builder.com มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบบรีพีทเตอร์แบบหลากหลาย
สายอากาศมีให้เลือกสองย่านความถี่นะครับ
แบบแรก 138-150MHz ครอบคลุมย่านวิทยุสมัครเล่น


แบบสอง150-160MHz สำหรับหน่วยงานราชการ


ทั้งสองรุ่นต่างกันตรงความยาวห่วงเล็กน้อย สายนำสัญญาณVB11มีค่า 75โอม ใช้สายRG11ค่า75โอมแทนได้
สายนำสัญญาณVB83มีค่า 35โอม เทียบเท่าRG83 ถ้าหาซื้อไม่ได้ สายทั้งหมดใช้สาย RG11ได้
ในแบบมีบางจุดมีการเชื่อมอลูมิเนียมให้ติดกัน เพื่อความแข็งแรง และสามารถลดการรับส่งคลื่นไม่พึงประสงค์จำพวก intermodurationได้

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Folded Dipole Andrew

สายอากาศชนิดโฟลเดดไดโพลเป็นที่นิยมในบ้านเรา ทั้งราชการ เอกชน และวิทยุสมัครเล่น มีมากมายหลายยี่ห้อทั้งในและต่างประเทศ
โครงสร้างแข็งแรงอัตราขยายดีปรับรูปแบบการจระจายคลื่นได้ และแบนด์วิธกว้าง การสร้างแต่ละแบบจะมีวิธีที่คล้ายๆกัน วิธีคิดคำนวณก็คล้ายกัน
ผมขอข้ามวิธีคิดคำนวณนะครับ เอาแบบสำเร็จไปทดลองกันเลย เป็นแบบของบริษัทAndrewผู้ผลิตสายนำสัญญาณชื่อดัง


ข้อแตกต่างคือการจัดวางระยะห่างของแต่ละห่วง จัดวางไม่เท่ากันแตกต่างจากที่เรารับรู้กันเท่าไปที่จะห่าง1/2แลมด้า
จุดต่างอีกที่นึงคือสายเฟสชิ่งลาย ใช้แบบ35โอม ซึ่งหาได้ยากในบ้านเรา ข้อนี้เราใช้แบบ75โอมทดแทนได้ครับ ความยาวตามแบบที่นิยมในบ้านเราได้เลย

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คาปาซิเตอร์ ซิลเวอไมก้า silver mica

เมื่อหลายปีก่อนประมาณช่วงปี36ผมได้รู้จักนักวิทยุสมัครเล่นที่มีความสามารถมากท่านนึง ท่านได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงอะไรหลายๆอย่างที่น่าสนใจ
ยกตัวอย่างเช่น การทำเม้ากระดกจากมอเตอร์ที่ปัดน้ำฝน ในช่วงนั้น เท่าที่มีข้อมูลยังไม่มีใครทำขึ้นมา ผมเคยเห็นอยู่บ้างที่เอาชุดกระจกไฟฟ้าทั้งชุด
มาทำเม้ากระดก แต่มันมีขนาดใหญ่โตไม่สวยงาม
อีกงานนึงที่น่าสนใจคือการดัดแปลงสายอากาศติดรถยนตร์ยอดนิยมของ Diamond รุ่น DP-CL2E หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่าสายอากาศซีโหลด (c-load)
วิธีการการดัดแปลงของท่าน ในสมัยนี้มีคนนิยมทำและเป็นที่รู้กันว่า คือการเปลี่ยน C ในชุดแมทชิ่งคอล์ย แต่มันมีข้อแตกต่างกันคือวัตถุที่ท่านนำมาใช้
ท่านได้ใช้ C ค่า8pF 500Vจากของเดิมชนิดเซรามิค ไปใช้ คาปาซิเตอร์ ชนิด ซิลเวอไมก้า (silver mica)  ข้อดีของ C ชนิดนี้คือถูกสร้างขึ้นมาใช้กับงานด้านRFทนแรงดันได้สูง
มีค่าผิดพลาดต่ำ เราเอามาใส่ใน c-load สามารถใช้กับกำลังส่ง50วัตต์ได้สบายผู้ที่เคยใช้ทุกคนยอมรับว่าประสิทธิภาพรับส่งดีขึ้นกว่าเดิมแบบรู้สึกได้
แต่ข้อเสียคือหาซื้อยาก และราคาแพง ในตอนนั้นท่านผู้ดัดแปลงต้องสั่งจากต่างประเทศ คนที่รู้จัก C ชนิดนี้เลยมีน้อย ปัจจุบันผู้คนทั่วไปที่ดัดแปลงสายอากาศเองยังคงใช้ C แบบเซรามิคโดยเอามาพ่วงกันหลายๆตัว

สำหรับในตอนนี้ silver mica ยังคงราคาแพงอยู่ แต่พอหาได้เป็นบางค่า มีกลุ่มผู้ที่ทำเครื่องเสียงเล่นเองนิยมเอาไปใช้งาน เขาบอกว่าเสียงที่ได้ออกมาดีกว่า C ทั่วไป
ผู้ที่อยากทดลองสามารถหาซื้อได้ง่ายขึ้นจาก ebay ใช้เวลาไม่นานครับ  รับรอง C ชนิดนี้ไม่ทำให้คุณผิดหวัง

V2 ชื่อนี้มีที่มา

สาอากาศรอบตัวที่มีกราวเพลนเป็นก้าน2ชั้น คนทั่วไปจะเรียกว่าสายอากาศV2 ปัจจุบันมีผู้ผลิตในไทยรายนึงผลิตออกมาขาย เป็นแบบV2 4ชั้นแถมยังกันฟ้าผ่าอีกด้วย
ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า ที่มามีมากกว่านี้
ย้อนไปเมื่อหลายปีก่อนบริษัทผลิตสายอากาศจากอเมริกายี่ห้อAEA ได้ผลิตสายอากาศชนิดรอบตัวให้ชื่อรุ่นว่า ISOPOLE เป็นที่นิยมทั้งในอเมริกาและในประเทศไทย
จนมีผู้ทำเลียนแบบออกมาขาย สายอากาศชนิดนี้มีจุดเด่นตรงรูปร่าง ที่มีกราวพลนเป็นรูปกรวย จำนวน2ชุด หรือ2ชั้น กรวยชั้นบนทำหน้าที่กราวเพลน
กรวยชั้นล่างทำหน้าที่คลัปปิ้งลดการแพร่กระจายคลื่นจากสายนำสัญญาณ ไม่ให้ไปกวนสายอากาศ

สายอากาศที่ทำตามกันออกมาโดยอาศัยแนวคิดเดียวกัน เป็นของยี่ห้อTelex-hygain (ปัจจุบันใช้ชื่อhy-gain) ได้ออกสายอากาศอออกมารุ่นนึงคล้ายกับisopole
แต่ในส่วนของกราวเพลนเป็นแบบก้านอลูมิเนียม4ก้าน ไม่ได้ทำเป็นกรวยอลูมิเนียม
hy-gainตั้งชื่อรุ่นของสายอากาศชนิดนี้ว่ารุ่น V2R
หมายถึงสายอากาศแบบverticalที่ใช้งานบนความถี่ย่าน2meter ในบ้านเราจะเรียกกันย่อๆว่า วีทู
ต่อมานักวิทยุสมัครเล่นชาวไทยมีความรู้มากขึ้น และสายอากาศที่นิยมใช้เปลี่ยนไป หันไปนิยมสายอาศชนิด5/8แลมด้า สองชั้นบ้าง สามชั้นบ้าง
บางท่านได้ทำสายอากาศแบบ5/8แลมด้า แต่ได้ใส่กราวเพลนเข้าไปสองชุดแบบสายอากาศ V2 และยังเรียกสายอากาศที่ทำขึ้นว่า V2
เมื่อเวลาผ่านไป ที่มาตรงส่วนนี้ไม่ได้รับการบอกเล่าต่อ นักวิทยุรุ่นหลังๆเลยเข้าใจว่าถ้ามีกราวเพลนชั้นเดียวเรียก สายอากาศ5/8แลมด้า
แต่ถ้าไปพบไปเห็นสายอากาศต้นใหนมีกราวเพลนสองชั้นจะถูกเรียกว่า วีทู จนลืมสายอากาศ V2R ของhy-gain ไปเสียสนิท

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โครงสร้างภายในของสายอากาศ Diamond X510N


หลังจากพยายามหารายละเอียดของสายอากาศตระกูลX500 X510และX520ของDimond
ก็ได้ไปเจอรายละเอียดสัดส่วนที่เวป
http://www.xs4all.nl/~pa0fri/Ant/X510N/Diamond%20X510N%20modification.htm
ลองตรวจดูแล้วมันแปลกๆเพราะเมื่อตรวจกับภาพถ่ายภายในจาก
http://www.hellocq.net/forum/showthread.php?t=116361
และอีกหลายแห่งที่พอหาได้ทำให้สับสนเล็กน้อย พอได้ไล่ตรวจสอบดู ต้องโยงลูกศรตามภาพจึงจะเหมือนจริง
ที่จริงสัดส่วนของสายอากาศ X510Nตามภาพเคยมีผู้เอาไปลงไว้ในบอร์ด www.100watts.com นานแล้ว
แต่การจัดเรียงท่อนกลางไม่ถูกต้อง และภาพที่ลงก็ไม่ชัดเพราะเป็นแบบสเกตด้วยมือ ผู้ทำตาม ทำแล้วไม่สำเร็จ
วัสดุที่ใช้มีทั้งทองเหลืองใช้ทำwhip ทองแดงใช้ทำcoil ผสมกันไป
สำหรับรุ่นใช้งานหนักทนวัตต์สูง X510HDN หรือX510HDM พบจุดที่แตกต่างคือ Cตรงชุดแมทชิ่ง
จะเพิ่มมาอีก2ตัวเพื่อให้Voltสูงขึ้น ทนกำลังส่งสูงขึ้นระยะอื่นๆไม่มีข้อมูล