วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

just learn morse code

โปรแกรมฝึกรหัสมอร์สที่มีชื่อแบบตรงไปตรงมา just learn morse code
โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมฝึกรหัสมอร์สในแบบของ Koch Medthod แบบเดียวกับโปรแกรม Koch Medthod CW Trainer ของG4FON
ที่หลายๆคนเคยใช้อยู่ แต่มีลูกเล่นที่ยืดหยุ่นกว่าของ G4FON ที่ต่างกันอย่างชัดเจนคือโปรแกรมนี้ไม่มีฟังชั่นสร้างเสียงรบกวน ไม่เป็นไร มือใหม่ไม่ได้ใช้
ส่วนข้ออื่นๆดีกว่า ที่ดูเด่นกว่าคือสามารถพิมพ์คำตอบลงในโปรแกรมแล้วโปรแกรมจะคำนวนให้เลยว่าตอบถูกกี่เปอเซ็นต์ จึงเพิ่มตัวอักษรใหม่เข้าไป
อันเป็นหลักการสำคัญของการฝึกแบบ Kock Medthod คือเริ่มฝึกความเร็วสูง ตอบให้ถูกไม่ต่ำกว่า90%  และเพิ่มทีละตัว
Ludwig Koch นักจิตวิทยาชาวเยอรมันคิดวิธีนี้ไว้ตั้งแต่ปี1930 นานมากนะครับ แต่ถูกเผยแพร่โดยDavid G. Finley, N1IRZ เมื่อปี1995นี่เอง
วิธีการนี้ถูกถ่ายทอดต่อกันมาว่าเป็นวิธีที่ได้ผลดี ดีกว่าวิธีแบ่งกลุ่มที่เราเคยใช้กันเช่นE I S H T M O  ซึ่งจำง่ายแต่จะพัฒนาไปใช้งานจริงจะช้ากว่า
เพราะการแบ่งกลุ่มเราจะฝึกด้วยความเร็วต่ำ ส่วนการใช้งานจริง ระดับทั่วไปต้องเริ่มที่25คำต่อนาที
นายKochกำหนดให้รับที่ความเร็ว15-20คำต่อนาที (ในโปรแกรมนี้เริ่มที่18คำ) อย่าให้ต่ำกว่านี้และให้รับต่อเนื่องเป็นเวลา5นาที
โปรแกรมนี้สามารถปรับระยะห่างระหว่างตัวอักษรได้ด้วย เรียกว่าFarnsworth Medthod ตามแนวคิดของDonald R. Farnsworth W6TTB
คำแนะนำคือปรับword speedให้ช้าพอที่จะแยกแยะตัวอักษรออก พอทดสอบผ่าน90%แล้ว ก็ปรับความเร็วขึ้นเรื่อยๆจนความเร็วตรงตามมาตรฐาน
ของการรับส่งรหัสมอร์ส หรือตัวเลข word speed และ caractor speedท่ากัน
 ถ้าดูในoptionมีตัวเลือกที่น่าสนใจคือ Learn ถ้าเลือกตัวนี้ โปรแกรมจะสุ่มตัวอักษรออกมาโดยเน้น ตัวอักษรที่เพิ่มเข้ามาใหม่ เช่นเรากำลังหัดรับ K M R S U A P
ตัวอักษรที่ส่งออกมาจะมีตัว PและA ออกมาบ่อยมาก  แต่ถ้าเลือกPractice โปรแกรมจะสุ่มตัวอักษรออกมาเท่าๆกัน
นอกจากนี้ยังสามารถสุ่มQ codeและคำศัพท์จริง ให้เราลองรับอีกด้วย

สำหรับผู้เริ่มฝึกหัดเพื่อต้องการสอบขั้นกลาง  ให้ฝึกด้วยการเขียนลงบนกระดาษนะครับ เพื่อสร้างความเคยชินในการเขียนเร็วๆ อย่าใช้keyboardนะครับ
ในระยะแรกจะเขียนไม่ทันครับ แม้สมองจะสามารถรับรู้ได้ว่าตัวอักษรที่ส่งมาคือตัวอะไร ให้ฝึกหัดไปเรื่อยๆครับไม่ต้องใจร้อน
เพราะในชีวิตจริงเราไม่มีโอกาสได้เขียนภาษาอังกฤษสักเท่าไร ให้ร่างกายได้ปรับสภาพ จะเขียนเป็นตัวเขียน ตัวพิมพ์ ตัวเล็ก ตัวใหญ่
ต้องลองเอาครับ ไม่มีสูตรสำเร็จ อย่างตัวผมเองใช้เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ เพราะถ้าใช้ตัวเขียนเล็กจะพบว่าตัวอักษรบางตัวเขียนออกมาคล้ายกันเกินไป
เมื่อฝึกจนชำนาญ รับได้ทุกตัวที่ความเร็วสูงๆให้พัฒนาปรับความเร็วขึ้นไปเรื่อยๆ รับจากคำศัพท์จริง คราวนี้จะง่ายขึ้น และจะไม่ต้องจด สามารถบันทึกในสมองได้
เนื่องจากเป็นคำที่อ่านออก แม้บางตัวจะรับขาดหายแต่จะเดาคำที่ถูกได้
 ผู้ที่ฝึกเพื่อสอบ ก่อนสอบสัก1สัปดาห์ต้องลดความเร็วลงมานะครับให้เหลือแค่10คำก็พอ คุณจะพบว่าเสียงมันจะยืดมาก และให้ปรับToneเสียง หลายๆระดับนะครับ
เพราะเราจะเจอToneที่เราไม่คุ้นเคย อีกปัญหาที่เจอกันประจำคือเสียงก้อง  ให้ใช้โปรแกรมแต่งเสียงทำเสียงก้องเพื่อให้เราคุ้นกับเสียงหลายๆแบบ

ขณะที่เขียนblogนี้ ยังไม่มีประกาศรับสมัครสอบจาก กสทช.อย่างเป็นทางการ แต่มีกำหนดออกมาแล้วคือวันที่ 21มกราคม2555
ขอให้ทุกท่านที่สนใจใช้เวลาตรงนี้ฝึกฝนให้ชำนาญ เมื่อมีประกาศสอบออกมาเราจะได้ใช้เวลาที่เหลือไปศึกษาเรื่องทฤษฎี
เพราะมีความยากกว่า เนื่องจากเป็นเรื่องที่เราไม่เคยรู้มาก่อนและต้องมีผู้รู้มาช่วยอธิบาย

โปรแกรมนี้หาได้ที่ http://www.justlearnmorsecode.com/

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

VEภาคพิศดาร

หลังจากการสอบวันที่2เมษา ผ่านพ้นไป ผมคิดว่าการทำหน้าที่VEของผมครบสมบูรณ์แล้ว รอแค่FCCออกcallsignเท่านั้น
แต่มันไม่จบ เพราะเวลาผ่านไปเนิ่นนาน ผลสอบก็ยังไม่ออกจนมีผู้เข้าสอบท่านนึง ไปตั้งกระทู้ในบอร์ด
คนที่ตั้งกระทู้ไม่ใช่ใครอื่น เคยมีบ้านห่างจากบ้านผมแค่5กิโลเมตร
เนื้อหากล่าวตำหนิคณะผู้จัดสอบ แน่นอนว่าผู้จัดต้องร่วมรับผิดชอบว่าทำไมผลสอบไม่ออก ผมไม่ว่าคนนั้นหรอก เพราะเขาคือผู้เสียหาย
แต่ที่น่าเสียใจสำหรับผม คือการโดนตำหนิจากคนอื่นๆ ที่เป็นVEบางท่าน สั่งสอนต่างต่างนานา เปรียบเสมือนผู้จัดสอบเป็นคนไร้ความสามารถ
ไร้ความรับผิดชอบ แทนที่จะช่วยให้คำแนะนำ ช่วยกันแก้ไขปัญหา กลับไล่ให้ไปอ่านคู่มือหน้านั้นหน้านี้
ผิดหวังครับ .....
VEบางท่าน ก็ดีมากครับ มีความเป็นผู้ใหญ่ ทั้งความคิด การกระทำ มีเหตุผลมากพอ น่านับถือ
ตัวผมไม่ได้นิ่งนอนใจ ผมทำตามความคิดของผม สอบถามไปทางARRLก่อนที่หลายๆคนทำหรือสอนให้ทำ  แต่คำตอบที่ได้ ไม่ได้ช่วยอะไร เขาให้รอเท่านั้น
ผมเลยเฉยๆเพราะยิ่งแสดงความเห็น พวกบ้าพลัง ก็พยายามจับผิดมาตำหนิติเตียน
ผมสอบถามไปเป็นระยะ คำตอบเดิม คือให้รอ
จนไม่กี่วันที่ผ่านมา ลองตรวจสอบดูอีกครั้ง หลังจากลองมาทุกๆอาทิตย์ พบว่าผลสอบออกแล้ว ดีใจครับ
สำหรับเหตุผลว่าทำไมถึงออกช้า เหมือนเดิมครับ   เขาไม่บอก
คงจบแล้วครับ แต้มต่อแค่1คะแนน สำหรับผม พอแล้ว
ผมทำในเรื่องที่ผมถนัดดีกว่า

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

แฮมอเมริกา ภาคVE

 เมื่อการสอบเป็นนักวิทยุสมัครเล่นของสหรัฐอเมริกาเสร็จสิ้น ผมได้ผ่านการทดสอบทั้ง3ขั้น ลำดับต่อไปคือการสมัครเพื่อเป็นอาสาสมัครคุมสอบหรือVE
ซึ่งเป็นจุดประสงค์นึง ของผู้ที่จัดสอบในเมืองไทย คือต้องการเพิ่มจำนวนVEคนไทยให้มีมากพอสำหรับการจัดสอบครั้งต่อๆไป ไม่ต้องใช้VEชาวต่างชาติ
ผู้จะเป็นVEต้องมีใบอนุญาตขั้นGeneralขึ้นไป ผมได้ขั้นExtraจึงคุมสอบได้ทุกclass  การเป็นVEเป็นได้ด้วยการสมัคร ผู้สมัครจะส่งเอกสารที่จำเป็นไปยังVEC
ตัวผมและท่านอื่นๆสมัครกับARRL/VEC ผู้สมัครต้องเข้าใจกฏ กติกา จากVE Manual  มีทุกอย่างที่ต้องรู้ พร้อมทั้งทำแบบทดสอบความเข้าใจ40ข้อ
ส่งไปที่ARRL/VEC ผมจัดทำเอกสารทั้งหมดเป็นpdf เพื่อความสะดวกในการส่ง คำถามต่างๆหาคำตอบได้ในคู่มือ และกฎข้อ97 บางคำถามแปลไม่ออก ต้องหาข้อมูล
จากคำแนะนำสำเร็จรูป(เฉลย)จากเน็ท และได้ความช่วยเหลือจากE20EHQเช่นเดิม ผมรอจนชื่อในFCC database เปลื่ยนเป็นจากGeneralเป็นExtra
ผมส่งเอกสารไปในวันนั้นเลย โดยต้องscanลายเซ็นจริง ลงไปด้วยเนื่องจากส่งเป็นpdf ไม่ได้scanเป็นjpegหรือส่งทางFax เพราะเห็นว่าสะดวกที่สุด
หลังเอกสารเรียบร้อยและส่งไปแล้ว 6ชั่วโมงจากนั้น มีmailตอบกลับจากARRL ว่าได้รับเอกสารแล้วจะใช้เวลาตามขั้นตอนประมาณ3สัปดาห์
เราสามารถตรวจสอบได้ว่าได้รับการแต่งตั้งเป็นVEอย่างเป็นทางการได้ที่ http://www.arrl.org/ve-session-counts โดยไม่ต้องรอเอกสารทางไปรษณีย์
สำหรับคนไทยต้องเลือก Non-US มีคนไทยหลายท่านที่ได้รับการแต่งตั้งแล้ว
ผู้ที่ผ่านการคุมสอบแล้วจะมีจำนวนครั้งบอกไว้หลังสัญญาณเรียกขาน คนไทยแต้มยังน้อยครับ มีฝรั่งบางท่านมีแต้มเกิน100แต้ม โอ้โห มืออาชีพ
   ผมได้รับการติดต่อล่วงหน้า ให้คุมสอบที่สถาบันการบินพลเรือน หน้าตลาดนัดสวนจตุจักร แต่ชื่อของผมยังไม่ปรากฏในweb ทางผู้จัดได้e-mailสอบถามไปยังARRL
เพราะใกล้วันสอบแล้ว ได้รับคำตอบว่าผมสามารถปฎิบัติหน้าที่VEได้ และวันถัดมาชื่อผมก็ขึ้นในwebพร้อมกับคนไทยอีก3ท่าน ทันเวลาทำหน้าที่
   การรับหน้าที่VEครั้งแรกของผม ผมใช้เวลาที่มีแปลคู่มือเอาในส่วนของการคุมสอบเท่านั้นครับ เรื่องเอกสารหลังสอบให้เป็นหน้าที่ของหัวหน้าทีม
ก่อนสอบต้องซักซ้อมความเข้าใจให้ตรงกัน หน้าที่ของผมในวันนั้นคือ แจกข้อสอบ ตรวจข้อสอบ และลงลายเซ็นใน กระดาษคำตอบ ,form605และCSCE
การสอบครั้งนี้มีผู้สอบผ่านเป็นExtraภึง7ท่าน จากการอับเกรด1ท่าน สอบใหม่ครั้งแรก6ท่าน เป็นสุภาพสตรีถึง3ท่าน ผู้เข้าสอบล้วนเป็นคนหนุ่มสาวความสามารถสูง
มีนักวิทยุรุ่นเก่าอยู่แค่5ท่าน
  ตอนเช้าของวันที่18เมษา ผมได้รับเอกสารจากARRL ในซองมีประกาศนียบัตรและบัตรติดเสื้อ รับรองการเป็นVEอย่างเป็นทางการ เดินทางมาช้าหน่อยเพราะบุรุษไปรษณี
หยุดเที่ยวสงกรานตร์ไปหลายวัน ดูวันที่หน้าซองระบุว่าส่งจากอเมริกาวันที่7 เมษา ระยะเวลานับตั้งแต่วันสมัครถึงวันรับเอกสารกินเวลา38วัน
  ประสบการณ์ทั้งหมดผมถือว่าครบสมบูรณ์แล้ว สำหรับการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นของประเทศสหรัฐอเมริกา คงเหลือแต่การออกอากาศจริงด้วยสัญญานเรียกขานนี้
ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีโอกาสได้ใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมายเมื่อใด

วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เมื่อผมสอบเป็นนักวิทยุสมัครเล่นอเมริกา ตอน3

หลังจากสอบผ่านไปไม่กี่วัน คณะผู้จัดสอบส่งเอกสารทั้งหมดไปที่ARRL-VEC  ชื่อของผมก็ปรากฏบนwebของ FCC ใช้เวลา 13วันเท่านั้นนับจากวันสอบ ส่วนlicenseต้องรอจนถึงต้นมกราคม
เพราะติดเทศกาลคริสมาสต์ ไปรษณ์อเมริกาหยุดพักผ่อน
 ผมรอlicenseอยู่นานพอสมควรเพราะผู้จัดส่งติดปัญหาบางประการ ไม่เป็นไรครับ ผมรอได้ ระหว่างนั้นผมฝึกฝนการทำข้อสอบขั้นExtra ซึ่งยากมากสำหรับความรู้ผมมี
วิธีการฝึก ผมใช้โปรแกรม Ham acadamyและ Ham radio examมาช่วยฝึก ทั้งสองโปรแกรมหาดาวโหลดได้ฟรี  โปแกรมช่วยได้เยอะครับ ทบทวนซ้ำได้หลายๆหนในหัวข้อที่ทำความเข้าใจได้ยาก
สามารถจำลองข้อสอบที่ใกล้เคียงของจริง
 กำหนดการสอบครั้งถัดไปคือ26กุมภาพันธ์ ผมได้รับความอนุเคราะห์เรื่องที่อยู่ในอเมริกาเช่นเคย ความมั่นใจในการสอบผ่านมีครับ จากการทดสอบด้วยโปรแกรม
และจากweb ผมได้คะแนนประมาณ90เปอเซ็นด์กว่า เพียงพอที่จะสอบผ่าน โอกาสพลาดก็ยังมี ผมจะสอบครั้งเดียวไม่สอบซ่อม 
 ก่อนวันสอบผมมีอาการปวดศรีษะเนื่องจากอากาศเปลื่ยนกระทันหันจากร้อนจัดเป็นฝนตก หวังว่าวันสอบคงหายทัน
เช้าวันสอบฝนตกมาพอสมควร ผมต้องรีบออกแต่เช้าจะได้ไม่เจอปัญหารถติด ไปถึงก็เกือบสามโมงเช้า หาตึกที่สอบอยู่นานครับ ช่วงนั้นเป็นช่วงสอบของนักศึกษาพอดี
อาคารเลยเต็มเกือบทุกห้อง ดีครับมีอาหารตาให้ดูเยอะ
 เริ่มสอบตอน9.30น เพราะหลายท่านหาห้องสอบไม่เจอ จากผู้ลงทะเบียน33ท่านมาสอบไม่ครบครับ แต่บรรยากาศคึกคักเหมือนเดิม ผมทำข้อสอบอย่างรอบคอบ
มีติดขัดไม่กี่ข้อ ตรวจทานให้เรียบร้อยก่อนออกจากห้องสอบ รอผลสอบพร้อมกับเพื่อนๆ ผมตอบผิดไป5ข้อ สอบผ่านดังความตั้งใจ
 การสอบครั้งต่อไป จะย้ายไปจัดที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี วันที่26มีนาคม พร้อมกับงาน "วิทยุสมัครเล่นมีมากกว่าที่คิดครั้งที่2" ผมคงไม่มีโอกาสได้ไปเห็นบรรยากาศการสอบในต่างจังหวัด
ซึ่งน่าจะมีผู้เข้าสอบอยู่ไม่น้อย เพราะหลายๆท่านเตรียมตัวมาสอบที่กรุงเทพไม่ทัน การไปสอบที่ส่วนภูมิภาคจะเป็นการกระจายโอกาสและกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการพัฒนา
ความรู้ความสามารถให้มากยิ่งขึ้น ถ้าจำนวนผูสนใจมากพอ การจัดสอบอาจกระจายไปได้ทั่วทุกภาค  จะได้ไม่ต้องเสียค่าเดินทาง ค่าที่พัก
การสอบที่ส่วนกลางในกรุงเทพ น่าจะประมาณเดือน มิถุนายน หวังว่าจะมีผู้เข้าสอบมากขึ้นนะครับ
สำหรับตัวผม จะรอให้มีชื่อในเวปFCC จะรีบทำการสมัครเป็นVEเพราะได้เตรียมเอกสารไว้พร้อมแล้ว